ทีม “Eco-Print” ของ นศ. COLA ม.ขอนแก่น คว้า 1 ใน 10 ทีม จากทั่วประเทศ และเป็นตัวแทนประจำภาคอีสาน ในการแข่งขัน The Youth SDGs program 2024 โครงการขับเคลื่อนสังคมและพัฒนาเยาวชนตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)

วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น  ขอแสดงความยินดีกับ Andra Pratama นักศึกษาปริญญาโท COLA KKU

ที่ผ่านการคัดเลือกให้เป็นทีมตัวแทนประจำภาคอีสาน ในชื่อทีม “Eco-Print” 1 ใน 10 ทีม จากทั่วประเทศ ในการแข่งขัน “Thailand Youth Forum 2024″ โดย UNDP Thailand และ Youth Plus Thailand

Andra Pratama

นักศึกษาปริญญาโท COLA KKU

 

โครงการนี้เกิดขึ้นเพื่อเฟ้นหาทีมตัวแทนของแต่ละภูมิภาคเพื่อรับเงินสนับสนุนจาก UNDP นำไปขับเคลื่อนการพัฒนา SDGs ในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม
โดยโครงการของทีมนักศึกษา COLA KKU ที่เข้าร่วมการแข่งขันและได้รับคัดเลือกให้เป็นทีมตัวแทนประจำภาคอีสาน คือ ” Eco-Print” ซึ่งจะได้รับเงินทุนสนับสนุนจาก UNDP จำนวน 50,000 บาท เพื่อนำไปใช้ขับเคลื่อนโครงการในพื้นที่ภาคอีสานระยะเวลา 5 เดือน โดยจะนำเอาไอเดียและวัตถุดิบธรรมชาติต่าง ๆ ที่มีในภาคอีสานมาออกแบบเป็นเสื้อ กางเกง กระเป๋า หรือของตกแต่งแฟชั่นต่าง ๆ ภายใต้คอนเซป “Eco-Print Isaan” เพื่อนำไปสู่การสร้างค่านิยมและธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนต่อไป
“Thailand Youth Forum 2024” เป็นโครงการที่เปิดพื้นที่รวมความร่วมมือขององค์กรเยาวชนที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เนื่องในวันเยาวชนสากล (International Youth day 2024) ด้วยความเชื่อมั่นว่าพลังของเยาวชนในการมีส่วนร่วมกับกระบวนการพัฒนาสังคมที่ยั่งยืน ส่งเสริมการขับเคลื่อนสังคมของกลุ่มองค์กรเยาวชนทั่วประเทศ สร้างการมีส่วนร่วมระหว่างองค์กรในประเด็นต่างๆ เพื่อสร้างฐานข้อมูลการพัฒนาสังคมมิติต่างๆ ที่มีอยู่ทั่วประเทศ
โดยงานจัดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 11 สิงหาคม 2567 เวลา 10:00-20:00 น. ณ Auditorium Hall, True Digital Park
กิจกรรมภายในงานประกอบด้วย : YOUTH SDGs พื้นที่บ่มเพาะนวัตกรรมเยาวชนสู่สังคมที่เท่าเทียม
ด้วยการทํางานในด้านเยาวชนกว่า 19 ปี พร้อมเครือข่ายเยาวชนทั่วประเทศ ในฐานะองค์กรที่มุ่งเน้นการพัฒนาเยาวชนสู่ความยั่งยืน ทั้งในด้านกระบวนการ รูปแบบความคิด สู่กิจกรรมเพื่อสร้างนวัตกรรมทางสังคมร่วมแก้ไขปัญหา 4 กลุ่มเฉพาะ ได้แก่ กลุ่มคนพิการ กลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มมุสลิม และกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTIQ+) โดยแบ่งเป็น
1. การส่งเสริมศักยภาพด้านนวัตกรรมทางสังคมให้กับเยาวชนกลุ่มเฉพาะ กับกิจกรรม “วงสนทนาระหว่างวัย: รู้จักประชากรกลุ่มเฉพาะ” สำรวจความต้องการ ความเข้าใจความหลากหลาย การคิดเชิงออกแบบ ทักษะนวัตกรรมและความเป็นผู้ประกอบการ ฯลฯ
2. Inclusive Hackathon for SDGs แฮคไอเดียเยาวชนสู่สังคมที่เท่าเทียมกัน โดยสมาชิกแต่ละทีมที่เป็นเยาวชนจากกลุ่มเฉพาะและเยาวชนที่สนใจ นําเสนอไอเดียเพื่อแก้ปัญหาที่ประชากรกลุ่มเฉพาะพบเจอในทั้ง 4 ภูมิภาค ก่อนคัดเลือก 10 โครงการต้นแบบที่จะต่อยอดสู่การลงมือทําจริงอย่างยั่งยืน
3. กระบวนการบ่มเพาะไอเดียนวัตกรรมสู่การลงมือทำจริง สำหรับ 10 ทีมที่ได้รับคัดเลือกจะได้ทุนสนับสนุน จํานวนทีมละ 50,000 บาท เพื่อนำไปต่อยอดไอเดียและสร้าง Prototype สู่กระบวนการดําเนินโครงการจริงกับกลุ่มเป้าหมายแต่ละพื้นที่ใน 4 ภูมิภาคทั่วประเทศ
     
————–
Scroll to Top