ทีม U2T จาก มข.สร้างชื่อคว้ารางวัลชนะเลิศ U2T Hackathon2021สุดยอดทีมระดับภูมิภาคเครือข่ายภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน

        รศ.น.สพ.ดร.ชูชาติ กมลเลิศ ผู้อำนวยการสำนักบริการวิชาการ  ได้รายงานว่า จากการที่ได้มีการจัดการแข่งขันแฮกกาธอน (U2T Hackathon2021)คัดเลือกสุดยอดระดับภูมิภาคเครือข่ายภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน เมื่อวันที่ 14-15 กรกฎาคม 2564 ณ.ห้องประชุมสัมมนา อาคาร 50 พรรษามหาวชิราลงกรณ มหาวิทยาลัยราชภัฎเลย เพื่อเลือกจำนวน 5 ทีมเป็นตัวแทนเครือข่ายของสถาบันอุดมศึกษา นับเป็นที่น่ายินดีอย่างยิ่งเมื่อ ทีม U2T กุดเค้า telemedicine สุขภาพอัจฉริยะสังกัดสำนักบริการวิชาการ ได้รับการตัดสินให้ได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดการนำเสนอผลงานเข้าร่วมการแข่งขัน แฮกกาธอน (U2T Hackathon2021)ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบล(มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) ทีมสุดยอดระดับภูมิภาคเครือข่ายภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนร่วมกับอีก 4 ทีมโดยในจำนวนนี้ยังมีทีม Vermi Team อีก1ทีมจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้รับเงินรางวัล 50,000 บาท และได้เป็นตัวแทนเข้าสู่รอบการแข่งขัน แฮกกาธอน ( U2T Hackathon2021)ในระดับประเทศในเดือน พฤศจิกายน 2564 ต่อไป นับได้ว่าเป็นการสร้างชื่อเสียงให้กับมหาวิทยาลัย



U2T กุดเค้า telemedicine สุขภาพอัจฉริยะ เป็นโครงการบูรณาการในการทำงานร่วมกันของ มหาวิทยาลัยขอนแก่นโดย สำนักบริการวิชาการ  องค์การบริหารส่วนตำบลกุดเค้า  อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และโรงพยาบาลมัญจาคีรี โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลปัญหาการเกิดโรค NCDs ( non-communicable diseases) เป็นกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง คือ ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรคและไม่สามารถแพร่กระจายจากคนสู่คนได้ แต่เป็นโรคที่เกิดจากนิสัยหรือพฤติกรรมการดำเนินชีวิต ในพื้นที่เป้าหมาย ตำบลกุดเค้า อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น  พร้อมการศึกษาความคุ้มค่าทั้งในเรื่องของประสิทธิภาพและค่าใช้จ่ายของการนำเครื่อง telemedicine สุขภาพอัจฉริยะมาใช้ในการตรวจวินิจฉัยเมื่อเปรียบเทียบกับวิธีเดิมที่ช่วยให้การทำงานของบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขเพื่อเป็นต้นแบบให้กับสถานบริการอื่นๆต่อไป
        สำหรับ การจัดกิจกรรม U2T ระหว่างวันที่ 21 มิถุนายน – 20 กรกฎาคม 2564 ซึ่งสำนักบริการวิชาการ รับผิดชอบพื้นที่ตำบลกุดเค้า อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น โดยมี นางสาวนิภาพรรณ ชัยเดชทยากุล ที่ปรึกษาโครงการ นางสาววรรณวิษา ธนาจินตวิทย์ ผู้รับผิดชอบพื้นที่มีดังนี้   เริ่มจากวันที่ 25 มิถุนายน 2564 ได้มีการจัดอบรมและฝึกปฏิบัติการเพาะเห็ดเพื่อบริโภคในครัวเรือนและสร้างรายได้ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจรายตำบลแบบบูรณาการ พร้อมการติดตามผลจากผู้เข้าอบรมกลุ่มตัวอย่างปลูกเห็ดต่อเนื่องไปในวันที่ 29 มิถุนายน และ 2-3 กรกฎาคม 2564  จากนั้นในวันที่ 29 มิถุนายน 2564 เป็นกิจกรรมการถ่ายทอดเทคโนโลยีการจัดการโรคและแมลงศตรูพืชด้วยระบบผสมผสานสำหรับเกษตรกร ต่อเนื่องด้วยการลงพื้นที่ติดตามผลการ ถ่ายทอดเทคโนโลยีการจัดการโรคและแมลงศตรูพืช ในวันที่ 8 กรกฎาคม 2564


อุดมชัย สุพรรณวงศ์ / ข่าว
สำนักบริการวิชาการ  / ภาพ

เฮ็ดให้สุด ขุดให้เถิง!! บทบาทของนักวิชาการและนักวิจัย COLA ชวนคุยเรื่องเศรษฐกิจสร้างสรรค์ แรงงานสร้างสรรค์ ท่ามกลางกระแสซอฟพาวเวอร์ของประเทศ ผ่านรายการ “คุณเล่า เราขยาย” ที่ Thai PBS

Scroll to Top