เฮ็ดให้สุด ขุดให้เถิง!! บทบาทของนักวิชาการและนักวิจัย COLA ชวนคุยเรื่องเศรษฐกิจสร้างสรรค์ แรงงานสร้างสรรค์ ท่ามกลางกระแสซอฟพาวเวอร์ของประเทศ ผ่านรายการ “คุณเล่า เราขยาย” ที่ Thai PBS

“คุณเล่า เราขยาย” ตอน “หมอลำซัมเมอร์ แรงงานสร้างสรรค์กลางกระแสซอฟต์พาวเวอร์”
.
          เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2567 ที่ผ่านมา COLA ม.ขอนแก่น โดย ผศ. ดร.ศิริศักดิ์ เหล่าจันขาม คณบดีวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น ได้ร่วมแลกเปลี่ยนถึงโจทย์สำคัญที่จะยกระดับคุณภาพแรงงานสร้างสรรค์ สู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ท่ามกลางกระแสซอฟพาวเวอร์ของประเทศที่กำลังเป็นที่กล่าวถึงในปัจจุบัน ในรายการ “คุณเล่า เราขยาย” ตอน “หมอลำซัมเมอร์ แรงงานสร้างสรรค์กลางกระแสซอฟต์พาวเวอร์” ของสถานีโทรทัศน์ Thai PBS ซึ่งจะออกอากาศในวันศุกร์ที่ 26 เมษายน 2567 นี้ เวลา 17.30 น. ทางสถานีโทรทัศน์ Thai PBS
.
        รายการ “คุณเล่า เราขยาย” ในเทปนี้ เป็นการเปิดพื้นที่พูดคุยแลกเปลี่ยนถึงโจทย์สำคัญที่จะยกระดับคุณภาพแรงงานสร้างสรรค์ โดยโฟกัสกลุ่มพี่น้องศิลปินหมอลำในเบื้องต้น ภายใต้การทำงานของ THACCA โดย คุณซัน นันธะชัย ศิลปินวง SUN DER “ซันเด้อ“ และขยายถึงการยกระดับแรงงานสร้างสรรค์ในอุตสาหกรรมหมอลำว่าสถาบันการศึกษาจะมีส่วนร่วมอย่างไรได้บ้าง ในมุมของนักวิชาการและนักวิจัยจากสถาบันการศึกษา โดย ผศ. ดร.ศิริศักดิ์ เหล่าจันขาม คณบดีวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น ม.ขอนแก่น พร้อมถามถึงอะไรที่คนในวิชาชีพมองว่าสำคัญเร่งด่วน แล้วฝั่งนโยบายควรทำอะไร อย่างไร เพื่อผลักดันประเด็นนี้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งต่อคนในวิชาชีพและต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ
.
       ข้อมูลจาก thacca.go.th ระบุ ว่า THACCA (Thailand Creative Content Agency) เหมือน KOCCA (Korea Creative Content Agency) ของเกาหลีใต้ หรือ TAICCA (Taiwan Creative Content Agency) ของไต้หวัน โดย THACCA มีขอบเขตที่กว้างกว่า สนับสนุนครอบคลุม 11 อุตสาหกรรมซอฟต์พาวเวอร์ ได้แก่ ด้านหนังสือ / ด้านเฟสติวัล (เทศกาล) /ด้านอาหาร/ด้านการท่องเที่ยว/ด้านดนตรี/ด้านเกม/ด้านกีฬา/ด้านศิลปะ (รวมถึงศิลปะการแสดง)/ด้านการออกแบบ/ด้านภาพยนตร์ ละคร และซีรีส์/ด้านแฟชั่น ซึ่งตั้งอยู่บนฐานของ “วัฒนธรรมสร้างสรรค์” ตั้งแต่วัฒนธรรมดั้งเดิมไปจนถึงวัฒนธรรมร่วมสมัย
.
.
         และงานวิจัย “หมอลำกับเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น” โดย ผศ. ดร.ศิริศักดิ์ เหล่าจันขาม ระบุถึงรายได้และการจ้างงานจาก “หมอลำ” ว่า ช่วงที่ไม่มีโควิด-19 หมอลำสร้างผลผลิตมวลรวม 6,613 ล้านบาท เกิดการจ้างแรงงานเฉพาะในส่วนการแสดงหมอลำ 4,856 คน การจ้างงานรวมทั้งในระบบและนอกระบบ 39,197 คน … การขับเคลื่อนประเด็น Soft power “หมอลำ” จึงเป็น Entry point ภาพสะท้อนสำคัญของอีสานที่จะเชื่อมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในระดับท้องถิ่นสู่เศรษฐกิจของประเทศได้อย่างยั่งยืน
.
ชมรายการย้อนหลังได้ที่  [Live] 17.30 น. #คุณเล่าเราขยาย : หมอลำซัมเมอร์ แรงงานสร้างสรรค์กลางกระแสซอฟต์พาวเวอร์ (26 เม.ย. 67)
.
 
.
Scroll to Top