Mathematics Education in the 4th Industrial Revolution: Thinking Skills for the Future

          ประชุมวิชาการ “Mathematics Education in the 4th Industrial Revolution: Thinking Skills for the Future” ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของมหาวิทยาลัยขอนแก่นที่เน้นการจัดกระบวนการเรียนรู้ตามกระบวนทัศน์ใหม่ โดยเปลี่ยนจากเน้นการสอน (Teaching paradigm) เป็นเน้นการเรียนรู้ (Learning paradigm) นอกจากนี้ ยังสอดคล้องกับทิศทางการศึกษาโลกที่เน้นเรื่อง AI และการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับทักษะในอนาคต เพื่อเตรียมเยาวชนที่จะอยู่ในศตวรรษที่ 21 ที่มีการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีอย่างรุนแรง (Disruptive Technology) เราไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยการคิดแบบเดิมในสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไปดังเช่นทุกวัน การคิดเชิงการคำนวณแบบที่คอมพิวเตอร์ (Computational Thinking) ทำงานจึงมีความสำคัญอย่างมาก เราต้องเรียนรู้ว่าคอมพิวเตอร์ก็เรียนรู้ได้ (Machine Learning) เพื่อที่จะอยู่ร่วมกันให้ได้ เพราะในอนาคตอันใกล้ตลาดงานจำนวนมากจะถูกยึดครองโดย AI

          ในครั้งนี้ ได้เชิญ Professor Marcelo Borba จาก State University of São Paulo, Brazil บรรยายพิเศษในหัวข้อ “Future of mathematics education post-covid-19: Digital technology, critical education and epistemology” ซึ่งเป็นประเด็นที่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ออนไลน์และทิศทางการศึกษาหลังจากสถานการณ์ Covid-19 นอกจากนี้ ยังมีการนำเสนองานวิชาการต่างๆ ในรูปแบบออนไลน์ เช่น Working Group และ Research Report 

         ผู้สนใจติดต่อ คุณจตุพร นาสินสร้อย เจ้าหน้าที่วิจัย ศูนย์วิจัยคณิตศาสตรศึกษา Center for Research in Mathematics Education 0876342081

สำนักบริการวิชาการ มข. ร่วมกับ สำนักงานศาลยุติธรรมจังหวัดยโสธร จัดหลักสูตร Upskill ให้กับบุคลากรภาครัฐ ด้านไกล่เกลี่ยข้อพิพาทฯ เพื่อลดข้อขัดแย้งและคดีความที่เกิดขึ้น และ ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ไกล่เกลี่ยฯ ของกระทรวงยุติธรรม

คณะเทคโนโลยี มข. ได้เข้าร่วมโครงการวิจัย “การเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจในห่วงโซ่อุปทานอุตสาหกรรมน้ำปลาร้า ด้วยเทคโนโลยีสร้างมูลค่ากากปลาร้า (ระยะที่ 2)” ของหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) ในกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

Scroll to Top