Kickoff KKUDigital contestก้าวแรกของการเข้าสู่ม.ดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ

รศ.นพ. ชาญชัย พานทองวิริยะกุล ที่ปรึกษารักษาการแทนอธิการบดี

ฝ่ายพัฒนามหาวิทยาลัยดิจิทัล และกองบริหารงานกลาง สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้จัดกิจกรรม KKU Digital Academy&Workshop เทรนบุคลากรสายสนับสนุนกลุ่มแรกเพื่อเป็นต้นแบบบุคลากรดิจิทัลของ มข.

เมื่อวันที่  24 ตุลาคม 2562 ที่ผ่านมา  ฝ่ายพัฒนามหาวิทยาลัยดิจิทัล และกองบริหารงานกลาง สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้จัดกิจกรรม KKU Digital Academy&Workshop ขึ้น ณ ห้องสิริคุณากร 4 ชั้น 2 อาคารสิริคุณากร มหาวิทยาลัยขอนแก่น  โดยได้รับเกียรติจาก  รศ.นพ. ชาญชัย พานทองวิริยะกุล ที่ปรึกษารักษาการแทนอธิการบดี ได้กล่าวให้กำลังใจผู้เข้าร่วมแข่งขัน ท่ามกลางผู้เข้าร่วมการแข่งขันกว่า 100 คนพร้อมmentor และคณะผู้บริหารที่เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้

ซึ่่่งกิจกรรม KKU Digital Academy&Workshop เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ KKU Digital Transformation Academy & Contest  ที่เปิดโอกาสให้บุคลากรสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยขอนแก่นได้ส่งผลงานสร้างสรรค์  เพื่อสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถ และประสบการณ์จากการใช้และพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลในกระบวนการทำงานตามภาระหน้าที่และความรับผิดชอบสู่เวทีนำเสนอผลงาน และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยในครั้งนี้ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีมีบุคลากรสายสนับสนุนได้ส่งผลงานเข้าร่วมประกวดถึง 99 ผลงานจาก 84 ทีม

ดร.ทวีศักดิ์ มโนมยิทธิกาญจน์

   ดร.ทวีศักดิ์ มโนมยิทธิกาญจน์ หนึ่งในผู้เข้าร่วมแข่งขันจากศูนย์หัวใจสิริกิติ์ได้กล่าวถึงการส่งผลงานเข้าร่วมแข่งขันในครั้งนี้ว่าศูนย์หัวใจสิริกิติ์ได้ส่งเข้าแข่งขันทั้งหมด 3 ทีม ทีมแรกคือทีมที่เป็นในส่วนหน้าส่วนหน้าในการให้บริการคนไข้ เป็นการคัดกรองคนไข้ เพื่อที่จะแปลงข้อมูลจากการเขียนกระดาษซึ่งใช้เวลาค่อนข้างนานในการกรอกแบบฟอร์มมาเป็นการกรอกแบบฟอร์มแบบดิจิทัลเพื่อให้ง่ายต่อการสื่อสารกับบุคลากรและเป็นจุดเริ่มต้น ที่จะทำระบบข้อมูล Digital Hospital ในอนาคตที่เราได้คาดหวังไว้ ทีมที่ 2 เป็นในส่วนของงานเภสัชกรรมก็เป็นเรื่องของการทำระบบทีวีดิจิตอลเพื่อบริการคนไข้รอหน้าห้องก็จะทำให้คนไข้สามารถทราบเวลาคาดการณ์การรับยาได้ซึ่งคนไข้ก็จะสามารถไปทำกิจกรรมแล้วก็กลับมารับได้ไม่ต้องนั่งรอนานา ซึ่งสร้างความพอใจให้กับคนไข้ได้ในส่วนที่ 3 ก็คือแชทบอทก็เป็นโปรแกรมที่จะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับคนไข้ ให้สามารถเข้าถึงข้อมูลยา ในผู้ป่วยนอกคือปกติเวลาเคาน์เตอร์จะจ่ายยาเราต้องใช้เวลามากเพื่อที่จะแจกแจงให้ข้อมูลยาว่ามีคุณสมบัติเช่นไร แต่เราอยากพัฒนาเพื่อที่จะให้คนไข้สามารถใช้แอฟพลิเคชั่นถ่ายรูปยาและเข้าถึงข้อมูลและสามารถถามคำถามในแชทบอทที่เป็นคำถามที่ถูกถามบ่อยในคนไข้โดยคนไข้ก็จะสามารถได้คำตอบที่ถูกต้องจากหุ่นยนต์สนทนาเภสัชกรที่เราได้วางไว้ซึ่งทุกอย่างที่เราทำนี้เพื่อพัฒนาการบริการคนไข้ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยในการเข้าร่วมครั้งนี้เราก็หวังว่าเราอยากมาร่วมพัฒนาและร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ความรู้ที่มีอยู่เพราะได้ทราบว่าใน Academy นี้มีเทรนเนอร์ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญมาช่วยพัฒนาในด้านดิจิทัลด้านต่างๆซึ่งตรงนี้ก็ดีมากเพราะเราสามารถก้าวข้ามอุปสรรคที่เราไม่รู้จะไปถามใคร ซึ่งก็จะคอยให้คำปรึกษาทำให้การทำงานของเราเป็นไปด้วยดีขึ้น รวดเร็วขึ้น

ซึ่งในวันที่ 24 ตุลาคม 2562 นี้ถือเป็นการให้ความรู้ด้านต่าง ๆ ให้แก่ผู้เข้ารอบ ทั้ง 84 ทีม โดยมีการบรรยายเรื่องการทำงานเป็นทีม โดย ผศ.ดร.เด่นพงษ์ สุดภักดี รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนามหาวิทยาลัยดิจิทัล มหาวิทยาลัยขอนแก่น หลักการผลิตสื่อเพื่อนำเสนอผลงาน โดยนายธัญญา ภักดี ผู้อำนวยการกองสื่อสารองค์กร Digital tools โดย ผศ.ดร.เด่นพงษ์ สุดภักดี และ ผศ.อนุชา โสมาบุตร ผูอำนวยการสำนักนวัตกรรมการเรียนการสอน และยังมีการชี้แจงการตัดสิน โดย ผศ.พิพัฒน์ เรืองแสง ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายพัฒนามหาวิทยาลัยดิจิทัล และในช่วงบ่ายเป็นการพูดคุยกับ mentor และการแบ่งกลุ่มเพื่อ work shop  ไม่ว่าจะเป็นด้าน cloud services, Business Intelligence, web app& Mobile app, IoTs & Computer network, Chat bot

หลังจากนี้จะมีการตัดสินรอบชิงชนะเลิศในวันที่ 8 มกราคม 2563 โดยมีรางวัล ดังนี้

  • รางวัลประเภท Disruption
    ชนะเลิศ 1 รางวัลได้เงินรางวัล 15,000 บาท อันดับ2 จำนวน 1 รางวัล เงินรางวัล 10,000 บาท อันดับ 3 จำนวน 1 รางวัล เงินรางวัล   7,500 บาท และรางวัลชมเชยจำนวน 3 รางวัลเงินรางวัล 12,000 บาท
  • รางวัลประเภท Innovation
    ชนะเลิศ 1 รางวัลได้เงินรางวัล 10,000 บาท อันดับ2 จำนวน 1 รางวัล เงินรางวัล 7,500 บาท อันดับ 3 จำนวน 1 รางวัล เงินรางวัล   5,000 บาท และรางวัลชมเชยจำนวน 3 รางวัลเงินรางวัล 9,000 บาท
  • รางวัลประเภท Iteration
    ชนะเลิศ 1 รางวัลได้เงินรางวัล 7,500 บาท อันดับ2 จำนวน 1 รางวัล เงินรางวัล 5,000 บาท อันดับ 3 จำนวน 1 รางวัลเงินรางวัล   3,000 บาท และรางวัลชมเชยจำนวน 3 รางวัลเงินรางวัล 3,000 บาท
  • นอกจากนี้ยังมีรางวัล Popular Vote จำนวน 1 รางวัล เงินรางวัล 5,500 บาท
ผศ.ดร.เด่นพงษ์ สุดภักดี รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนามหาวิทยาลัยดิจิทัล

    ด้าน ผศ.ดร.เด่นพงษ์ สุดภักดี รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนามหาวิทยาลัยดิจิทัล มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้กล่าวว่า การที่บุคลากรสายสนับสนุนได้ส่งผลงานเข้าร่วมกว่า 99 ผลงานจาก 84ทีมนี้ถือว่าเป็นสัญญาสำคัญของคนที่เราเรียกว่าสายสนับสนุนของมหาวิทยาลัยขอนแก่นโดยส่วนสำคัญของการปรับเปลี่ยนดิจิทัล คือคนโดยเฉพาะคนที่ทำงานในมหาวิทยาลัยอันนี้ ถือว่าเป็นสัญญาณแรกและสัญญาณที่ดีที่ผู้ทำโครงการคาดหวังซึ่งมีคนที่เข้าร่วมกว่า 300 คนแสดงว่าเรามีขุมกำลังที่จะร่วมขับเคลื่อนด้านดิจิทัล ของมหาวิทยาลัยขอนแก่นจาก 300 ใน 10,000 คนนี้ ถือว่าไม่เยอะแต่ 300 คนนี้จะเป็นตัวที่เป็นกลุ่มที่จะจุดประกายในการที่จะขยายผลงานต่อไป เพราะฉะนั้นเห็นแล้วว่าการดำเนินงานของฝ่ายดิจิทัลได้รับสัญญาณที่มีความร่วมมือและคาดว่าจะทำให้การดำเนินการในวันข้างหน้าเร็วกว่าในสิ่งที่อาจจะเร็วกว่าที่วางแผนไว้ซึ่งถ้าเป็นแบบนั้น น่าจะไปได้ไกลกว่าที่เราได้วางแผนไว้พอสมควรซึ่งอันนั้นจะเป็นผลงานชิ้นสำคัญที่ไม่ใช่ของฝ่ายบริหารแต่เป็นผลงานชิ้นสำคัญของคนมข.เพราะผู้บริหารวางแผนไว้แค่นี้แต่สิ่งที่คนมข. ทำไว้ไปได้ไกลกว่านั้น สัญญาณสำคัญครั้งนี้คือบุคลากรฝ่ายสนับสนุนของเราพร้อมมากที่จะก้าวสู่การเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ

ข่าว พรทิพย์  คำดี
ภาพ อรรถพล ฮามพงษ์

[ English ]

 

Scroll to Top