มข. ร่วมส่งเสริมการเรียนรู้ พัฒนาทักษะ และสมรรถนะทางวิชาชีพแก่ครูและบุคลากรทางการศึกษาทั่วภาคอีสาน ผ่านกิจกรรม EDUCA Roadshow 2023

เมื่อวันเสาร์ที่ 24 มิถุนายน 2566 มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดย สถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพร่วมกับ บริษัท ปิโก (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) หรือ EDUCA หน่วยงานผู้จัดกิจกรรมสัญจรพัฒนาวิชาชีพครูประจำปี 2566 (EDUCA Roadshow 2023) ณ อาคารสถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียน มหาวิทยาลัยขอนแก่น

โดย EDUCA หน่วยงานเพื่อการศึกษาไทย ได้จัดมหกรรมทางการศึกษาเพื่อการพัฒนาวิชาชีพครูเป็นประจำทุกปี ต่อเนื่องมากว่า 15 ปี และกว่า 6 ปี ในการเป็นเจ้าภาพร่วมของสถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียน มหาวิทยาลัยขอนแก่น และปีนี้เป็นปีแรกที่ EDUCA ได้ออกมาจัดกิจกรรมสัญจรอบรมครูในพื้นที่ต่าง ๆ อาทิ ภาคอีสาน ภาคเหนือ ภาคใต้ เพื่อเชื่อมโยงครู ผู้บริหารการศึกษา แหล่งผลิตครู และนักการศึกษาในแต่ละท้องถิ่นอย่างแนบแน่น ภายใต้ชื่อ EDUCA Roadshow 2023 และเพื่อเป็นการส่งเสริมความรู้ ทักษะ และสมรรถนะทางวิชาชีพแก่ครูและบุคลากรทางการศึกษาผ่านการบรรยายและเสวนาทางวิชาการ ตลอดจนสร้างความรู้จักและพัฒนาเครือข่ายของการพัฒนาวิชาชีพครูในเครือข่ายของสถาบันอุดมศึกษา

งานในปีนี้ จัดขึ้นภายใต้หัวข้อ “เรียนรู้ร่วมกันผ่านการพัฒนาชั้นเรียนสู่การเรียนรู้ในอนาคต (Lesson Study & Learning for the Future)” โดยมีผู้เชี่ยวชาญทางการศึกษาเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ และทักษะต่าง ๆ ดังนี้

  • การบรรยาย “กว่าจะเป็นการศึกษาชั้นเรียนด้วยวิธีการแบบเปิด (Thailand Lesson Study incorporated with Open Approach: TLSOA) : หลักคิดและการปฏิบัติ” โดย รศ.ดร. ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ รองอธิการบดีฝ่ายการศึกษาและบริการวิชาการ มข.
  • การเสวนา “ความท้าทายของการใช้การศึกษาชั้นเรียน (Lesson Study) ในห้องเรียนไทยในอนาคต” โดย รศ.ดร. ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ รองอธิการบดีฝ่ายการศึกษาและบริการวิชาการ, ผอ.สันติ มุ่งหมาย ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านทุ่ม (ทุ่มประชานุเคราะห์), รศ. ลัดดา ภู่เกียรติ ประธานกลุ่มผู้อำนวยการผู้นำการเปลี่ยนแปลง (TPF) ผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิตพัฒนา และ ศน.สุดสงวน กลางการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ขอนแก่น เขต 1

ห้องกิจกรรมต่าง ๆ อาทิ

  • Learning and Teaching with iPad จุดประกายการเรียนรู้ด้วย iPad โดย Apple Distinguished Educators, Apple Teacher
  • Blended Learning Classroom (BLC) โดย ผศ.ดร. พงศ์ธนัช แซ่จู และ ผศ.ดร. จิรดาวรรณ หันตุลา อาจารย์คณะศึกษาศาสตร์ มข. และผู้บริหารจากสถาบันฯ ครูอาเซียน
  • ภาวะผู้นำวิชาการ : เมื่อครูและผู้อำนวยการควรอยู่ในห้องเรียนเดียวกัน โดย ผศ.ดร. ปรณัฐ กิจรุ่งเรือง คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • มองสะท้อนการเรียนรู้จากห้องเรียน โดย รศ.ดร. ชาตรี ฝ่ายคำตา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • แนวทางการนำ TLSOA เพื่อสร้างชุมชนการเรียนรู้เชิงวิชาชีพในโรงเรียน โดย ผศ.ดร. นฤมล ช่างศรี และ ผศ.นารีนารถ กลิ่นหอม อาจารย์คณะศึกษาศาสตร์ มข. และผู้บริหารจากสถาบันฯ ครูอาเซียน
  • Magic Phonics Wand: Phonemic Awareness as a Key to Successful Phonics Instruction (Conducted in English) โดย Yannaya Duangmani และ Mr.Bundith Punsiri
  • พัฒนาชุมชนการเรียนรู้ในโรงเรียนเพื่อพัฒนาการคิดขั้นสูงของนักเรียน โดย รศ.เอื้อจิตร พัฒนจักร ผู้ทรงคุณวุฒิประจำสถาบันฯ ครูอาเซียน ดร.นิศากร บุญเสนา และ ดร.จิตรลดา ใจกล้า อาจารย์คณะศึกษาศาสตร์ มข.
  • การออกแบบการเรียนรู้ด้วยการคิดเชิงออกแบบ โดย ผศ.ดร. เรวณี ชัยเชาวรัตน์
  • ปรับประยุกต์ใช้ Open Approach เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ โดย รศ.จุมพล ราชวิจิตร ที่ปรึกษาด้านบริการและจัดฝึกอบรม ผศ.ปิยะศักดิ์ ปักโคทานัง และ ผศ.เขม เคนโคก อาจารย์คณะศึกษาศาสตร์ มข.

ซึ่งการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ สถาบันฯ มีส่วนร่วมในการส่งเสริมการเรียนรู้ พัฒนาทักษะ และสมรรถนะทางวิชาชีพแก่ครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยมีผู้ให้ความสนใจเข้าร่วมกิจกรรมกว่า 500 คน ประกอบด้วย คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยทักษิณ ผู้อำนวยการสถานศึกษา ครู ศึกษานิเทศก์ นักศึกษา และผู้ที่สนใจลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรมจากทั่วภาคอีสาน  อีกทั้งยังสนับสนุนยุทธศาสตร์สถาบันฯ ในการบริการวิชาการเพื่อพัฒนาวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษา และสนับสนุนเรื่องการสร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต (SDG4)

 

 

เฮ็ดให้สุด ขุดให้เถิง!! บทบาทของนักวิชาการและนักวิจัย COLA ชวนคุยเรื่องเศรษฐกิจสร้างสรรค์ แรงงานสร้างสรรค์ ท่ามกลางกระแสซอฟพาวเวอร์ของประเทศ ผ่านรายการ “คุณเล่า เราขยาย” ที่ Thai PBS

Scroll to Top