COLA KKU เป็นเจ้าภาพร่วมกับ Faculty of Social and Political Science and Faculty of Economic and Business, University of Muhammadiyah Malang, Indonesia จัดประชุมวิชาการนานาชาติ International Conference on Humanities and Social Science

 

          เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2564  วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในฐานะสถาบันทางการศึกษาด้านการบริหารกิจการสาธารณะของกลุ่มประเทศอาเซียน ได้เป็นเจ้าภาพร่วมกับ Faculty of Social and Political Science and Faculty of Economic and Business, University of Muham madiyah Malang ประเทศอินโดนีเซีย ในการจัดการประชุมวิชาการนานาชาติ ภายใต้ชื่อ International Conference on Humanities and Social Science ในโอกาสนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.พีรสิทธิ์ คำนวณศิลป์ คณบดีวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่นได้รับเกียรติให้เป็นองค์ปาฐถกเกียรติยศ (Keynote Speaker) “Social and Political Issues on Sustainable Development in Post Covid-19 Crisis” ผ่านระบบ Zoom Meeting ซึ่งในการบรรยายครั้งนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.พีรสิทธิ์ คำนวณศิลป์ ได้กล่าวถึง 1) ความสำคัญของการกระจายความรับผิดชอบและอำนาจในการตัดสินใจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและประชาชน 2) การเปิดโอกาสและสร้างความร่วมมือระหว่างทุกภาคส่วน และ 3) การไม่รวมศูนย์อำนาจในการสั่งการและแก้ไขปัญหา COVID-19 ไว้ที่บุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง

            เมื่อมีการระบาดของ COVID-19 ระลอกแรกเข้ามาในประเทศ ประเทศไทยได้บริหารตามหลักการนี้ จนได้รับการยกย่องว่าเป็นประเทศที่ประสบความสำเร็จในการป้องกันและแก้ไขปัญหา ต่อมาเมื่อมีการระบาดในระลอกที่ 3 ประเทศไทยได้ดำเนินการตรงกันข้ามกับหลักการที่กล่าวมาข้างต้น ส่งผลให้ทุกภาคส่วนไม่สามารถเข้ามามีบทบาทในการดำเนินการแก้ไขและป้องกันการระบาดของ COVID–19 ได้ ดังจะเห็นได้จากการที่โรงพยาบาลและสถานบริการด้านสาธารณสุขของเอกชนและขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่สามารถเข้ามามีบทบาทในการจัดหาและฉีดวัคซีนให้แก่ประชาชนในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคอย่างรุนแรง การจัดหาและฉีดวัคซีนทั้งหมดในประเทศไทยเป็นการดำเนินการโดยกระทรวงสาธารณสุขภายใต้การอนุมัติหรือเห็นชอบจากผู้อำนวยการศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 ผลที่ตามมาคือประเทศไทยในปัจจุบันได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในอันดับที่ 6 จากประเทศอาเซียนทั้งหมด 10 ประเทศ นับว่า ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่ยังมีปัญหาในเรื่องของการให้บริการฉีดวัคซีน กล่าวคือ ยังมีอัตราการครอบคลุมต่ำเพียง 2.6% ของประชากร อัตราการแพร่ระบาดในแต่ละวันมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้น และวัคซีนที่นำเข้ามาฉีดในประเทศไทยยังมีประสิทธิภาพ (Efficacy) ต่ำกว่าวัคซีนที่ใช้ในประเทศเพื่อนบ้าน ส่งผลให้เกิดความกังวลใจว่า วัคซีนที่ฉีดให้แก่ประชาชนนั้น ไม่สามารถต่อต้านเชื้อไวรัสสายพันธ์ Delta Plus ซึ่งรุนแรงมากและกำลังแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วในประเทศไทย

ภาพ/ข่าว COLA KKU

COLA, KKU co-hosts with Faculty of Social and Political Science and Faculty of Economic and Business, University of Muhammadiyah Malang, Indonesia to hold the International Conference on Humanities and Social Science

https://www.kku.ac.th/11400

Scroll to Top