ทีมนักวิจัย KKU Smart City ต้อนรับคณะศึกษาดูงานจากกระทรวงดิจิทัลเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม

วันพฤหัสบดีที่ 12 ธันวาคม 2563 เวลา 10.30 – 12.30 ทีมนักวิจัยในโครงการวิจัยและพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (Smart City) ต้อนรับคณะศึกษาดูงานจากกระทรวงดิจิทัลเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม (ดศ) สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช) และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร) ดูงานโครงการเมืองอัจฉริยะ โดยสำนักขายและบริการลูกค้าภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) นำบุคลากรเข้าเยี่ยมชมจำนวน 30 ท่าน ณ KKU Smart City Operational Center อุทยานวิทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดขอนแก่น โดยมี ดร.อภิรชัย วงษ์ศรีวรพล ผู้อำนวยการฯ กล่าวต้อนรับคณะผู้บริหารและผู้ศึกษาดูงาน

รศ.ดร.วนิดา แก่นอากาศ ผู้อำนวยการสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยขอนแก่น / นักวิจัยในโครงการ KKU Smart City ได้กล่าวถึงความเป็นมาของโครงการวิจัยและพัฒนาเมืองอัจฉริยะว่า โครงการนี้เป็นโครงการภายใต้โครงการนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืนของอีสานทางด้านเศรษฐกิจฯ ตามยุทธศาสตร์ชาติ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มศักยภาพความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ (Economic Competitiveness) โดยเป็นเครื่องมือที่เอื้อโอกาสและสร้างระบบสนับสนุนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ (Healthy Economic Platform) เสริมสร้างความยั่งยืน (Sustainability) ให้กับเมืองให้คนในเมืองมีคุณภาพชีวิตที่ดีและสร้างโอกาสให้กับคนในอนาคต และอำนวยความสะดวกสบายในการใช้ชีวิตและเพิ่มความสุขให้กับประชาชนในการใช้ชีวิตอย่างปลอดภัย (Safety) ซึ่งมหาวิทยาลัยขอนแก่นได้มีการพัฒนาแอพพลิเคชั่นที่สามารถตอบโจทย์การใช้ชีวิตของประชาชนในมหาวิทยาลัยขอนแก่นตลอดจนประชาชนในจังหวัดขอนแก่น โดยรวบรวมในแอพพลิเคชั่น KAN App (Khon Kaen Smart City Mobile Application for New Innovation) ประกอบไปด้วย

  1. SMART MOBILITY การจราจรยุคใหม่ Smart Parking จุดจอดรถอัจฉริยะบอกสถานะว่างพร้อมจอดได้ทุกเมื่อ / KKU Smart Transit – Khon Kaen City Bus
  2. SMART LIVING ประกอบด้วยระบบ CCTV และ Drone ดูข้อมูลความเคลื่อนไหวผ่านกล้อง CCTV ที่มีอยู่ทั่วเมืองขอนแก่น / Medical and Healthcare Services / City Free Wifi
  3. SMART ECONOMY ประกอบด้วย Smart Farm
  4. SMART CITIZEN ดูแลสุขภาพและใช้ชีวิตประจำวันด้วยหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ (Robotics)
  5. SMART ENVIRONMENT แจ้งเตือนระดับฝุ่นละอองขนสดเล็ก PM 2.5 และมลพิษทางอากาศได้อย่างทันท่วงทีด้วยพลังงานสะอาด / Smart Solar Farm / Net Zero Energy Building / E-Waste Smart Bin รักษ์โลกด้วยการจำแนกและจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ด้วยระบบ NB-IoT / Smart Trash ถังขยะอัจฉริยะบอกสถานะความจุ หรือแม้กระทั่งกลิ่นที่ไม่พึ่งประสงค์ / Smart Parking Solar Rooftop
  6. SMART GOVERNMENT การเชื่อมโยงข้อมูลภาครัฐด้วย IoT เป็นตัวช่วยในการเปิดเผยข้อมูลของรัฐแก่ประชาชนและสร้างฐานข้อมูลใหม่โดยประยุกต์กับฐานข้อมูลเดิม (Big Data)

ขอเชิญชวนบุคลากรและประชาชนทดลองใช้แอพพลิเคชั่น KAN ได้ที่

ios: https://apps.apple.com/us/app/kk-smart-city/id1450798173

Android: https://play.google.com/store/apps/details

 

ข่าว/ภาพ: นางสาวนิติยา ชุ่มอภัย

Scroll to Top